ดร. ใก้ลตาย : การศึกษาการหยุดเต้นของหัวใจโดยเกรย์สัน
Home Page ประสบการณ์ใกล้ตาย – เรื่องเล่าล่าสุด เล่าประสบการณ์ใกล้ตายของคุณ



พิมพ์วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2004 ในนิตยสารเดอะฮุค ฉบับที่ 0336

http://readthehook.com/stories/2004/09/08/facetimeDrNeardeathGreyson.html

ผู้หญิงคนหนึ่งล่องลอยอยู่เหนือร่างไร้วิญญาณของตน เธอรู้สึกสงบนิ่ง หลังจากนั้นเธอก็ลอยเข้าไปในอุโมงก์ไปยังแสงสว่างแวววับ 

ไม่ว่าจะเชื่อหรือไม่หรือเป็นคนขี้สงสัยก็ตาม มีโอกาสอยู่แล้วที่คุณจะรู้ว่านี่เป็นเหตุการ์ที่เป็นมาตรฐานของประสบการณ์ใกล้ตาย แต่ใน ค.ศ. 1975 ในตอนที่บรูซ เกรย์สันเริ่มประกอบอาชีพเป็นจิตแพทย์นั้น เรื่องเป็นนี้ยังเป็นเรื่องที่ใหม่อยู่ 

ณ เวลานั้น เกรย์สันทำงานในห้องฉุกเฉินของ UVA ซึ่งผู้ป่วยที่อยู่ที่นั่นในขณะนั้นคือเรย์มอนด์ มู้ดดี้ ซึ่งเพิ่งได้เขียนหนังสือซึ่งจะขายดีมากๆ ในเวลาต่อมาคือ เรื่อง Life after Life หรือชีวิตหลังชีวิต ซึ่งเขาเป็นผู้ริเริ่มใช้วลี “ประสบการณ์ใกล้ตาย” 

เกรย์สัน ซึ่งกำลังศึกษาเรื่องความพิลึกของสมองและจิตใจรู้สึกทึ่งในจำนวนจดหมายที่มู้ดดี้ได้รับจากผู้คนเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ใกล้ตายของพวกเขาในขณะที่ชีวิตกำลังหลุดลอยไป
เขาจำได้ว่า “ผู้คนเหล่านี้มักรู้สึกอัศจรรย์และโล่งอกที่ตัวเองไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่มีประสบการณ์ใกล้ตาย” 

หลังจากนั้นเกือบ 30 ปี เกรย์สันที่มีอายุ 57 ปีก็ยังคงรู้สึกทึ่ง ผู้อำนวยการแผนกบุคคลิกศึกษาที่ UVA ได้เริ่มโครงการใหม่เมื่อต้นปี โครงการนี้เป็นการตรวจสอบประสบการณ์ใกล้ตายต่างๆ เกรย์สันและแพทย์ด้านหัวใจของ UVA กำลังเน้นศึกษาผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวซึ่งเกิดขึ้นโดยฉับพลันเพื่อทำให้แน่ใจว่าเครื่องมือต่างๆ ใช้งานได้ 

เกรย์สันซึ่งผูกไทสีเหลืองนั่งเอนบนเก้าอี้พร้อมพูดว่าในตอนนี้ยังไม่มีอะไรจะรายงาน แต่เขายิ้มและบอกว่าเขาจะขยายเวลาในการศึกษาออกไปอีก 

“บรูซเป็นนักวิจัยที่ระแวดระวังเป็นอย่างดี” ดร.ไมเคิล ซาบอมกล่าว เขาเป็นแพทย์หัวใจในเมืองแอทแลนต้าผู้ซึ่งศึกษาเรื่องประสบการณ์ใกล้ตายด้วยเช่นกัน 

เกรย์สันชี้ให้เห็นว่ายาสลบบางตัวนั้นสามารถทำให้ผู้ป่วยจำอะไรไม่ค่อยได้ ดังนั้นเขาเลยติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับภาพได้จากเพดาน 

“ถ้าเราจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้น มันก็เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย” เกรย์สันบอก 

อย่างไรก็ตาม การพิสูจย์ถึงการเกิดประสบการณ์ใกล้ตายในเชิงวิทยาศาสตร์ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกรย์สันสนใจที่สุดในการเกี่ยวข้องกับการเป็นนักจิตวิทยาของเขา วิธีการที่ประสบการณ์ใกล้ตายทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไปนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตื่นเต้น ตามความคิดของเกรย์สัน พวกที่ประสบเหตุการณ์ใกล้ตายจะไม่แสดงลักษณะโดดเด่นอะไรใดๆ ก่อนเหตุการณ์เลย แต่หลังมีประสบการณ์พวกเขาจะมีความมีจิตวิญญาณมากขึ้น และไม่ค่อยจะวัติถุนิยมเท่าเดิม 

หลังการศึกษาผู้คนที่เคยพยายามฆ่าตัวตายที่เคยมีประสบการณ์ใกล้ตายแล้วนั้น เกรย์สันค้นพบว่าผู้คนที่เขาศึกษานั้นไม่ค่อยจะพยายามฆ่าตัวตายอีก ซึ่งไม่เหมือนคนอื่นๆ เกรย์สันได้กล่าวว่า “สิ่งที่พวกเขาบอกก็คือถ้าคุณไม่กลัวความตาย คุณก็ไม่กลัวที่จะมีชีวิตอยู่เช่นกัน” 

เกรย์สันซึ่งไม่ได้รู้ถึงสารเคมีต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปมากเช่นนี้ เสนอว่าประสบการณ์ใกล้ตายนั้นมีความหมายเชิงจิตวิทยา เขากล่าวว่า “เราทำงานหนักเป็นเวลายาวนานเพื่อทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย” 

การวิจัยของเขาได้กระทบมุมมองส่วนตัวของเขาหรือไม่ “มันทำให้ผมเกิดมุมมองใหม่ว่าสิ่งใดในชีวิตที่มีความสำคัญบ้าง” เขากล่าว “และมันยังทำให้ผมไม่ค่อยอยากจะละทิ้งความคิดบ้าๆ อย่างที่ผ่านมาด้วย”